สองล้อ เดินหน้าลุย Rod to Paris 2024 วางเป้าเข้าโอลิมปิกเกมส์ครบทั้ง 4 ประเภท ด้าน BMX สุพรรณฯ คึกคักผู้สมัครสนามละ 300

“สองล้อ” ทำงานหนักต่อเนื่อง เดินหน้าลุยแผนปฏิบัติการ “Rod to Paris 2024” มาตั้งแต่ปลายปี 2562 เพื่อสร้างนักกีฬาดาวรุ่งทุกประเภท “ถนน-ลู่-เสือภูเขา-บีเอ็มเอ็กซ์” เป้าหมายหลักคือการผ่านควอลิฟายโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ให้ได้ครบทั้ง…

สองล้อ เดินหน้าลุย Rod to Paris 2024 วางเป้าเข้าโอลิมปิกเกมส์ครบทั้ง 4 ประเภท ด้าน BMX สุพรรณฯ คึกคักผู้สมัครสนามละ 300

สองล้อ เดินหน้าลุย Rod to Paris 2024 วางเป้าเข้าโอลิมปิกเกมส์ครบทั้ง 4 ประเภท ด้าน BMX สุพรรณฯ คึกคักผู้สมัครสนามละ 300

“สองล้อ” ทำงานหนักต่อเนื่อง เดินหน้าลุยแผนปฏิบัติการ “Rod to Paris 2024” มาตั้งแต่ปลายปี 2562 เพื่อสร้างนักกีฬาดาวรุ่งทุกประเภท “ถนน-ลู่-เสือภูเขา-บีเอ็มเอ็กซ์” เป้าหมายหลักคือการผ่านควอลิฟายโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ให้ได้ครบทั้ง 4 ประเภท ด้านศึกบีเอ็มเอ็กซ์ชิงแชมป์ประเทศไทย สนามที่ 2-3 ที่สนามเสมอกันเซอร์กิต จ.สุพรรณบุรี วันที่ 5-6 กันยายน มีถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก Thaicycling Association เวลา 14.00-16.00 น. ทั้งสองวัน

“เสธ.หมึก” พลเอกเดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่สมาคมกีฬาจักรยานฯ ประสบความสำเร็จในการจัดทำและบริหารจัดการตามโครงการ “Rod to Tokyo 2020” ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานนักปั่นไทยเพื่อก้าวไปสู่ระดับนานาชาติ ระดับโลก และระดับโอลิมปิกเกมส์แล้ว ทางสมาคมฯ ก็ได้เริ่มวางแนวทางแผนปฏิบัติการในอีกสี่ปีข้างหน้า “Rod to Paris 2024” เพื่อความสำเร็จอย่างต่อเนื่องทันที และแม้ว่ากรอบการทำงานจะเริ่มต้นในปีงบประมาณ 2564 หรือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ตามรอบงบประมาณประจำปี แต่ในความเป็นจริงนั้น สมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้เริ่มเดินหน้าแผนมาตั้งแต่ปลายปี 2562 แม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาวะการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างหนักหน่วงในช่วงต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบันก็ตาม


พลเอกเดชา กล่าวว่า แผนปฏิบัติการ Road to Paris 2024 สมาคมกีฬาจักรยานฯ จะเน้นหนักไปที่การสร้างนักกีฬาดาวรุ่งขึ้นมาทดแทนนักกีฬารุ่นพี่ ไม่ว่าจะเป็นประเภทถนน ลู่ เสือภูเขา และบีเอ็มเอ็กซ์ โดยมีเป้าหมายหลักคือการผ่านควอลิฟายโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ให้ได้ครบทั้ง 4 ประเภท รวมถึงเป้าหมายในการต่อยอดความสำเร็จของนักปั่นไทยในระดับภูมิภาค ทั้งในซีเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์ รวมไปถึงการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์เอเชีย ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทายสำหรับทุกภาคส่วนของสมาคมกีฬาจักรยานฯ เป็นอย่างมาก

“ในแผนพัฒนารอบนี้ สมาคมกีฬาจักรยานฯ จะพัฒนาศูนย์ฝึกจักรยานทั้ง 4 ภูมิภาค ประกอบด้วยศูนย์ฝึกจักรยานกองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์ฝึกจักรยานจังหวัดพะเยา, ศูนย์ฝึกจักรยานวัดดงน้อย จังหวัดสระบุรี และศูนย์ฝึกจักรยานจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้มีความพร้อมในการสร้างนักกีฬาจักรยานภูมิภาครุ่นใหม่อย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งปัจจุบันบุคลากรหลักโดยเฉพาะผู้ฝึกสอน เป็นบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนจักรยานระดับสูงมาทั้งสิ้น จะได้รับอุปกรณ์วิทยาศาสตร์การกีฬาครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เวทเทรนเนอร์, จักรยานวัตไบค์, อุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์สมรรถภาพนักกีฬา ไปจนถึงอุปกรณ์การปรับตั้งรถจักรยานแข่งขันให้เข้ากับสรีระและศักยภาพของนักปั่น เพื่อให้สามารถดึงเอาประสิทธิภาพของนักปั่นออกมาใช้อย่างเต็มที่ทั้งในระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขัน” พลเอกเดชา กล่าว


นายกสมาคมสองล้อไทย กล่าวต่อไปว่า นอกเหนือจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว สมาคมกีฬาจักรยานฯ ก็ได้ร่วมกับฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในเรื่องการสนับสนุนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในทุก ๆ ด้านที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางร่างกายของนักกีฬาจักรยาน ขณะเดียวกัน ก็จะเน้นหนักในเรื่องการวิเคราะห์ความเหมาะสมของกล้ามเนื้อนักกีฬาในแต่ละศูนย์ หรือการ Identify นักกีฬา เพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอดไปสู่การแข่งขันเฉพาะทาง ที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะทางกล้ามเนื้อและสรีระของนักกีฬาแต่ละบุคคลต่อไป

“การดำเนินการตามแผนดังกล่าว สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ มีภาระหนักในการจัดหางบประมาณด้านการลงทุนมารองรับการเดินหน้าแผนปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจากการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ต่างก็ประจักษ์ในผลงานในอดีตที่ผ่านมาของสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ก็เชื่อว่าอุปสรรคในด้านงบประมาณไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการโครงการดังกล่าวให้สัมฤทธิ์ผล” พลเอกเดชา กล่าว


นอกจากนี้ “ซูเปอร์หมึก คึกกว่า 5G” เปิดเผยอีกว่า ตามที่สมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้จัดการแข่งขันจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2563 ในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ New Normal สนามที่ 2 และ 3 ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน ที่สนามเสมอกันเซอร์กิต จ.สุพรรณบุรี ล่าสุด มียอดนักกีฬาที่สมัครเข้าแข่งขันสนามละ 285 คน คาดว่าเมื่อปิดรับสมัครแล้วจะมียอดสูงถึงสนามละ 300 คน อย่างแน่นอน เนื่องจากว่างเว้นจากการแข่งขันมานานหลายเดือน ดังนั้นสมาคมกีฬาจักรยานฯ จึงเตรียมแผนด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามมาตรการหลัก 5 ข้อ ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. อย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง หลีกเลี่ยงการสัมผัส และจำกัดจำนวนคน พร้อมทั้งจะปิดสนามให้มีทางเข้า-ออกทางเดียว และไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าสนามอย่างเด็ดขาด

พลเอกเดชา กล่าวอีกว่า สมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้จัดตั้งจุดคัดกรองเอาไว้ที่บริเวณหน้าทางเข้าสนามเสมอกันเซอร์กิต จำนวน 2 จุดด้วยกัน นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบรายชื่อที่บอร์ดด้านหน้าก่อน ผู้ที่ไม่มีรายชื่อจะไม่มีสิทธิ์เข้าสนาม จากนั้นจะไปตรวจวัดอุณหภูมิด้วยเครื่องเทอร์โม สแกน ต่อด้วยการลงทะเทียนกับแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” รับไอดีการ์ด พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อรถจักรยาน แล้วติดสติกเกอร์ ส่วนพื้นที่ภายในสนามก็จะตั้งเจลแอลกอฮอลล์ล้างมือไว้ตามจุดต่าง ๆ รวมทั้งตั้งถังขยะที่แบ่งเป็นถังขยะทั่วไป, ถังขยะรีไซเคิล และถังขยะอันตราย สำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยหรือถุงมือยางที่ใช้แล้ว นอกจากนี้ก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยประกาศให้นักกีฬารักษาระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในสนาม ยกเว้นตอนอบอุ่นร่างกายและลงแข่งขัน ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่สมาคมกีฬาจักรยานฯ กำหนดเอาไว้นั้น ได้รับการชื่นชมจากกรมอนามัย, กรมควบคุมโรค และ ศบค. ว่าเป็นมาตรการที่มีมาตรฐานสูงมาก และเป็นต้นแบบในการจัดแข่งขันให้แก่กีฬาชนิดอื่น ๆ


สำหรับการแข่งขันจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2563 ในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ New Normal สนามที่ 2 และ 3 จะมีการถ่ายทอดสดให้แฟนกีฬาสองล้อได้ชมทางเฟซบุ๊กของสมาคมกีฬาจักรยานฯ Thaicycling Association ในวันเสาร์ที่ 5 กันยายน และวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน เวลา 14.00-16.00 น. ทั้งสองวัน นอกจากนี้สมมาคมฯ ยังได้ตั้งโทรทัศน์วงจรปิดภายในเต็นท์ด้านหน้าสนามอีก 6 จุด เพื่อให้ผู้ติดตามและผู้ปกครองของนักกีฬาได้รับชม โดยไม่ต้องเข้าไปในสนาม เพื่อป้องกันการแออัด และการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก.