สองล้อ วางแผนพัฒนาบุคลากรปี 2564 อบรม โค้ชเสือภูเขา-ช่างซ่อม-ผู้ตัดสินลู่ โดยยึดต้นแบบจากสหพันธ์จักรยานโลก

“สองล้อ” เดินหน้าพัฒนาบุคลากร ประจำปี 2564 จัดฝึกอบรมผู้ฝึกสอนจักรยานเสือภูเขา, อบรมช่างจักรยาน และอบรมผู้ตัดสินกีฬาจักรยานประเภทลู่ กระจายไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย “เสธ.หมึก” เผยสมาคมกีฬาจักรยานฯ ใช้ต้นแบบการพัฒนาจากสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ)…

สองล้อ วางแผนพัฒนาบุคลากรปี 2564 อบรม โค้ชเสือภูเขา-ช่างซ่อม-ผู้ตัดสินลู่ โดยยึดต้นแบบจากสหพันธ์จักรยานโลก

สองล้อ วางแผนพัฒนาบุคลากรปี 2564 อบรม โค้ชเสือภูเขา-ช่างซ่อม-ผู้ตัดสินลู่ โดยยึดต้นแบบจากสหพันธ์จักรยานโลก

“สองล้อ” เดินหน้าพัฒนาบุคลากร ประจำปี 2564 จัดฝึกอบรมผู้ฝึกสอนจักรยานเสือภูเขา, อบรมช่างจักรยาน และอบรมผู้ตัดสินกีฬาจักรยานประเภทลู่ กระจายไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย “เสธ.หมึก” เผยสมาคมกีฬาจักรยานฯ ใช้ต้นแบบการพัฒนาจากสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) ผู้ที่ผ่านการอบรมต้องผ่านการฝึกปฏิบัติหน้าที่จริงตามระยะเวลาที่กำหนด

“เสธ.หมึก” พลเอกเดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ในแต่ละปี สมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้วางแผนการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนานักกีฬามาอย่างต่อเนื่อง โดยแผนการพัฒนาบุคลากรนั้น สมาคมฯ ได้เปิดการอบรมผู้ตัดสิน, ผู้ฝึกสอน และอบรมช่างซ่อมจักรยาน ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา สมาคมฯ เปิดอบรมไปแล้ว 3 ครั้ง ประกอบด้วย การจัดการอบรมผู้ตัดสินกีฬาจักรยานประเภทเสือภูเขา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 8-12 มกราคม, การจัดการอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาจักรยานประเภทลู่ ระดับชาติขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 15-19 กรกฎาคม และการจัดอบรมช่างจักรยานระดับชาติขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 26-30 สิงหาคม โดยการอบรมทั้ง 3 ครั้ง จัดขึ้นที่โรงแรมวาสิฎฐี ซิตี้  จังหวัดสุพรรณบุรี


“ในการอบรมดังกล่าวนั้น สมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซึ่งในช่วงที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้เชิญวิทยากรชาวต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) มาให้ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ แก่ผู้เข้าร่วมอบรมทุกครั้ง แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 วิทยากรชาวต่างประเทศจึงไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ตามปกติ” ายกสองล้อไทย กล่าว


พลเอกเดชา กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม สมาคมกีฬาจักรยานฯ มีวิทยากรชาวไทยที่ผ่านการอบรมขั้นสูงจาก ยูซีไอ มาแล้วหลายคน เช่น นายณัฐพงศ์ โลหิตนาวี กับ เรืออากาศเอก สุภัทร ศรีไสว ที่ผ่านการอบรมผู้ตัดสินระดับนานาชาติ, “โค้ชตั้ม” พันจ่าอากาศเอก วิสุทธิ์ กสิยะพัท กับ ร้อยตำรวจเอก อดิศักดิ์ วรรณศรี ผ่านการอบรมผู้ฝึกสอนประเภทถนน และประเภทลู่นนานาชาติ ระดับ 2, ทั้งสองคน, สิบตำรวจโทหญิง กฤติกา ศิลาพัฒน์ ผ่านการอบรมผู้ฝึกสอนประเภทเสือภูเขานานาชาติ ระดับ 2, นายอัถร ไชยมาโย ผ่านการอบรมผู้ฝึกสอนระเภทบีเอ็มเอ็กซ์นานาชาติ ระดับ 2 รวมทั้ง ร้อยตำรวจเอก ณัฐพล จีบถาวรธาวิต, นายสุระพงศ์ กลุ่มในเมือง, พันจ่าอากาศเอก นรุตม์ชัย ข้อยุ่น และ อส.ทพ.เอนก ศาสตร์ทรัพย์ ผ่านการอบรมช่างนานาชาติ ระดับ 2 ซึ่งบุคลากรของสมาคมกีฬาจักรยานฯ ทั้งหลายเหล่านี้ สามารถให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมได้เป็นอย่างดี ไม่แพ้วิทยากรชาวต่างประเทศ


นายกสองล้อไทย กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการพัฒนาบุคลากรในปี 2564 สมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้วางกำหนดการอบรมเอาไว้ดังนี้ 1.การจัดอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาจักรยานประเภทเสือภูเขา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2564 ระหว่าง 20-24 มกราคม 2564 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี / จังหวัดชัยนาท / จังหวัดเชียงราย, 2.การจัดอบรมช่างจักรยาน ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2564 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี หรือ จังหวัดชัยนาท, 3.การจัดอบรมผู้ตัดสินกีฬาจักรยานประเภทลู่ ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษภาคม 2564 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี / จังหวัดนครราชสีมา / กรุงเทพมหานคร 


“สำหรับสถานที่การอบรม สมาคมกีฬาจักรยานฯ จะพิจารณาจังหวัดที่มีสนามแข่งขันในประเภทนั้น ๆ เป็นหลัก เช่น การอบรมผู้ตัดสินกีฬาจักรยานประเภทลู่ จังหวัดที่จะจัดอบรมก็ต้องมีสนามเวลโลโดรม เพื่อใช้ฝึกอบรมในภาคปฏิบัติ นอกจากนั้น สมาคมฯ ต้องการกระจายการอบรมไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยหลังการอบรมสมาคมฯ ได้มีการติดตามประเมินผลผู้ที่ผ่านการอบรมด้วยการให้มาปฏิบัติงานในการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์ประเทศไทย รายการต่าง ๆ ซึ่งการกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้สนับสนุนด้านงบประมาณ ก็มีความพึงพอใจการจัดอบรมที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ” 


พลเอกเดชา กล่าวเสริมว่า ในการพัฒนาบุคลากรของสมามกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ใช้ต้นแบบการพัฒนาจากสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) ซึ่งนอกเหนือจากแนวทางการอบรมพัฒนาแล้ว ผู้ที่ผ่านการอบรม ยังจะต้องผ่านการฝึกปฏิบัติหน้าที่จริงตามระยะเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสิน เนื่องจากการตัดสินแต่ละครั้ง จะส่งผลกระทบถึงผลการแข่งขัน ดังนั้น จึงไม่อาจผิดพลาดได้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย


“ในประเด็นดังกล่าว ฝ่ายเทคนิคของสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ได้เข้าหารือกับฝ่ายพัฒนาบุคลากร การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ถึงแนวทางในการออกบัตรผู้ตัดสินจักรยาน ที่ออกโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งทางฝ่ายพัฒนาบุคลากร กกท. ก็เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว คือผู้ที่ผ่านการอบรมในภาคทฤษฎีแล้ว จะต้องผ่านการปฏิบัติหน้าที่ภาคสนามตามระยะเวลาที่กำหนด ก่อนที่จะดำเนินการออกบัตรผู้ตัดสินจักรยาน ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของสมาคมกีฬาจักรยานฯ และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกฏระเบียบของ ยูซีไอ ผู้ที่ถือบัตรผู้ตัดสินจักรยาน จะต้องมีใบอนุญาต (License) ที่ออกโดยสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ จึงจะสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินได้อย่างสมบูรณ์” พลเอกเดชา กล่าว.