2024 “ยูซีไอ” ให้การรับรองสถานภาพ “เอซีเอฟ” เป็นองค์กรจักรยานในระดับภูมิภาคอาเซียน จัดแข่งสองล้อซีเกมส์เองโดยไม่ผ่าน “เอซีซี”

คณะกรรมการบริหารสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองสถานภาพสหพันธ์จักรยานแห่งอาเซียน (เอซีเอฟ) ในฐานะองค์กรกีฬาจักรยานในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้การดำเนินการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียนมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น สามารถดำเนินจัดการแข่งขันได้เองโดยเฉพาะมหกรรมกีฬาซีเกมส์…

2024 “ยูซีไอ” ให้การรับรองสถานภาพ “เอซีเอฟ” เป็นองค์กรจักรยานในระดับภูมิภาคอาเซียน จัดแข่งสองล้อซีเกมส์เองโดยไม่ผ่าน “เอซีซี”

2024 “ยูซีไอ” ให้การรับรองสถานภาพ “เอซีเอฟ” เป็นองค์กรจักรยานในระดับภูมิภาคอาเซียน จัดแข่งสองล้อซีเกมส์เองโดยไม่ผ่าน “เอซีซี”

คณะกรรมการบริหารสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองสถานภาพสหพันธ์จักรยานแห่งอาเซียน (เอซีเอฟ) ในฐานะองค์กรกีฬาจักรยานในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้การดำเนินการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียนมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น สามารถดำเนินจัดการแข่งขันได้เองโดยเฉพาะมหกรรมกีฬาซีเกมส์ และสามารถยื่นลงทะเบียนจัดการแข่งขันในปฏิทินการแข่งขันของ “ยูซีไอ” โดยไม่ต้องผ่านสมาพันธ์จักรยานแห่งเอเชีย (เอซีซี) คาดว่าจะเริ่มกระบวนการดังกล่าวได้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2568
A02
 “เสธ.หมึก” พลเอกเดชา เหมกระศรี ประธานสหพันธ์จักรยานแห่งอาเซียน (เอซีเอฟ) และนายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจาก ดาโต๊ะ อมาจิต ซิงห์ กิล เลขาธิการเอซีเอฟ และกรรมการบริหารสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) ที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูซีไอ ที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ก ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งดาโต๊ะ อมาจิต ซิงห์ กิล ระบุว่าที่ประชุมกรรมการบริหารยูซีไอ มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองสถานภาพสหพันธ์จักรยานแห่งอาเซียน ในฐานะองค์กรกีฬาจักรยานในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนับเป็นองค์กรกีฬาจักรยานระดับภูมิภาคองค์กรที่ 2 ต่อจากสหพันธ์จักรยานอาหรับที่ได้รับการรับรองสถานภาพจากยูซีไอ
A03
 พลเอกเดชา กล่าวว่า การที่สหพันธ์จักรยานแห่งอาเซียน หรือ เอซีเอฟ ได้รับการรับรองจากยูซีไอดังกล่าวนั้น เป็นก้าวแรกที่สำคัญของเอซีเอฟในยุคใหม่หลังจากที่ก่อตั้งมานานกว่า 20 ปี จะส่งผลให้การดำเนินการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียนมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับภูมิภาคอย่างกีฬาซีเกมส์ ที่เอซีเอฟจะเข้ามาดำเนินการจัดการแข่งขัน พร้อมทั้งยื่นลงทะเบียนปฏิทินการแข่งขันนานาชาติกับสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) รวมไปถึงการแต่งตั้งผู้แทนเทคนิค (Technical Delegate) และคณะผู้ตัดสินนานาชาติเข้าปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันได้ด้วยตัวเอง จากเดิมที่ต้องดำเนินการผ่านสมาพันธ์จักรยานแห่งเอเชีย (ACC) ซึ่งในหลาย ๆ กรณีส่งผลเรื่องความล่าช้าและไม่คล่องตัว
A05
 “อย่างไรก็ตาม การดำเนินการของเอซีเอฟ ไม่ได้ขัดแย้งหรือกลายเป็นองค์กรอิสระจากเอซีซีแต่อย่างใด เอซีเอฟก็ยังจะต้องแจ้งให้เอซีซีรับทราบในขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมด และต้องดำเนินการในกรอบข้อบังคับทั้งสองยูซีไอและเอซีซี โดยในประเด็นดังกล่าว ดาโต๊ะ อมาจิต ได้ยืนยันต่อที่ประชุมกรรมการบริหารยูซีไอ ที่มี มร.โอซามะห์ อัลชาฟา ประธานเอซีซี ชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ มิสหยวน หยวน กรรมการบริหารยูซีไอจากจีน เข้าร่วมประชุมรับทราบ ซึ่งทั้ง มร.โอซามะห์ และมิสหยวน ต่างก็ลงมติเห็นชอบให้การรับรองสถานภาพเอซีเอฟเช่นเดียวกับกรรมการบริหารยูซีไอทั้งหมด” พลเอกเดชา กล่าว
 นายกสองล้อไทย กล่าวอีกว่า กระบวนการดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มต้นใช้ในการแข่งขันจักรยานในมหกรรมการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ.2568 ขณะที่ประเด็นเร่งด่วนของเอซีเอฟที่อยู่ระหว่างดำเนินการก็คือการรณรงค์ให้ชาติสมาชิกในอาเซียน พัฒนาระบบการจัดการแข่งขันนานาชาติ ทั้งประเภทถนน ประเภทลู่ ประเภทเสือภูเขา และประเภทบีเอ็มเอ็กซ์ ให้ขึ้นทะเบียนปฏิทินการแข่งขันนานาชาติของยูซีไอ ทั้งนี้ไม่เพียงเป็นการยกระดับมาตรฐานการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังจะส่งผลในเรื่องโอกาสการเก็บคะแนนสะสมจักรยานโลก ที่มีผลผูกพันไปถึงโอกาสในการควอลิฟายเข้าสู่การแข่งขันจักรยานในระดับสูงขึ้นไป รวมไปถึงมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ในอนาคต
 “ในประเด็นดังกล่าว ผมในฐานะประธาน และดาโต๊ะ อมาจิต ซิงห์ กิล เลขาธิการฯ จะเริ่มเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนเพื่อรณรงค์ให้สมาคมกีฬาจักรยานแต่ละชาติเห็นความสำคัญของการขึ้นทะเบียนปฏิทินยูซีไอ และก็ต้องยอมรับว่าแต่ละชาติต่างก็มีเหตุปัจจัยหรืออุปสรรคที่แตกต่างกัน ซึ่งเอซีเอฟที่มีคณะกรรมการบริหารอีกจำนวน 6 คน ประกอบด้วย มร.นู จำเริญ จากกัมพูชา, มร.อเวลิโน ซามากุย จากฟิลิปปินส์, มร.ฮอง คำ จาก สปป.ลาว, นายเอกชัย เศวตสมภพ จากไทย, มร.หวู เวียน ก๊อก จากเวียดนาม และ มร.นอรัซมาน อาบู ซามาห์ จากมาเลเซีย และ นายขัตติยะ ศรีโสดา จากไทย ก็จะนำข้อมูลที่ได้รับมาประมวลและช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อให้แต่ละชาติสามารถดำเนินการตามจัดการแข่งขันระดับนานาชาติในปฏิทินของยูซีไอตามวัตถุประสงค์เบื้องแรกนี้ที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนากีฬาจักรยานของภูมิภาคอาเซียนในอนาคตต่อไป” พลเอกเดชา กล่าว.