“สองล้อ” ลุยสร้างนักปั่นรุ่นใหม่

“สองล้อ” ดำเนินแผนยุทธศาสตร์การสร้างนักกีฬาจักรยานรุ่นใหม่ โดยกระจายภารกิจไปยังศูนย์ฝึกต่าง ๆ ในเครือของสมาคมกีฬาจักรยานฯ ทั้ง 5 แห่งทั่วประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของ บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด อย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี จนประสำความสำเร็จสร้างนักกีฬาหน้าใหม่จำนวนมาก…

“สองล้อ” ลุยสร้างนักปั่นรุ่นใหม่

“สองล้อ” ลุยสร้างนักปั่นรุ่นใหม่

“สองล้อ” ดำเนินแผนยุทธศาสตร์การสร้างนักกีฬาจักรยานรุ่นใหม่ โดยกระจายภารกิจไปยังศูนย์ฝึกต่าง ๆ ในเครือของสมาคมกีฬาจักรยานฯ ทั้ง 5 แห่งทั่วประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของ บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด อย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี จนประสำความสำเร็จสร้างนักกีฬาหน้าใหม่จำนวนมาก และต่อยอดพัฒนาให้มีศักยภาพสูงขึ้นจนก้าวไปทดแทนนักกีฬาทีมชาติรุ่นพี่ได้อย่างไม่ขาดตอน พร้อมทั้งจัดรูปแบบ “แคมป์เทรนนิ่ง” คัดนักปั่นที่มีความโดดเด่นของแต่ละศูนย์ มาฝึกซ้อมร่วมกัน
A01พลเอกเดชา_เหมกระศรี
 “เสธ.หมึก” พลเอกเดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า จากการที่สมาคมกีฬาจักรยานฯ ดำเนินแผนยุทธศาสตร์การสร้างนักกีฬาจักรยานรุ่นใหม่ โดยใช้นโยบายการกระจายภารกิจไปยังศูนย์ฝึกกีฬาจักรยานในเครือของสมาคมฯ ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ฝึกจักรยานภูมิภาคทั้งหมด 5 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ฝึกฟิชเชอร์แมนเฟรนด์ กองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์ฝึกฟิชเชอร์แมนเฟรนด์ วัดดงน้อย จังหวัดลพบุรี, ศูนย์ฝึก Prime19 จังหวัดพะเยา, ศูนย์ฝึกฟิชเชอร์แมนเฟรนด์ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ฝึกฟิชเชอร์แมนเฟรนด์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 10 ปี และประสบความสำเร็จในเป้าหมายแรก คือการสร้างนักกีฬาจักรยานรุ่นใหม่ขึ้นมาจำนวนมาก ซึ่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากีฬาจักรยานของศูนย์ฝึกฯ ต่าง ๆ จะเริ่มเข้าสู่เฟสที่ 2 คือการต่อยอดนักกีฬาจักรยานรุ่นใหม่ ให้มีศักยภาพสูงขึ้น สามารถก้าวขึ้นมาทดแทนนักกีฬาทีมชาติรุ่นพี่ได้อย่างไม่ขาดตอนต่อไปในอนาคต
A03
 พลเอกเดชา กล่าวว่า ในห้วงเวลาต่อไป นับตั้งแต่ปี 2564 สมาคมกีฬาจักรยานฯ ก็จะจัดรูปแบบแคมป์เทรนนิ่งร่วมกัน สำหรับนักปั่นรุ่นยุวชนและเยาวชนที่มีแววโดดเด่นของแต่ละศูนย์ฝึก จะถูกคัดเลือกเข้ามาฝึกซ้อมร่วมกัน ทั้งนักกีฬาและผู้ฝึกสอน โดยมีผู้ฝึกสอนชั้นสูงของไทย ไม่ว่าจะเป็น นายวิสุทธิ์ กสิยะพัท และ ร้อยตำรวจเอก อดิศักดิ์ วรรณศรี ในประเภทถนนและลู่, เรืออากาศเอก สุภัทร ศรีไสว และ ร้อยตำรวจตรีหญิง กฤติกา ศิลาพัฒน์ ในประเภทเสือภูเขา, นายอัถร ไชยมาโย ในประเภทบีเอ็มเอ็กซ์ รวมไปถึงบุคลากรกีฬาด้านอื่น ๆ ทั้งช่างซ่อมจักรยาน, นักวิทยาศาสตร์การกีฬา, นักกายภาพ เข้าไปสังเกตการณ์และให้คำแนะนำการฝึกซ้อมที่ถูกต้องเหมาะสมให้แก่นักกีฬาแต่ละคนในระหว่างที่เข้าแคมป์ เพื่อให้มีพัฒนาการเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะเริ่มเดินหน้าโครงการดังกล่าวประมาณกลางเดือนกันยายน หรือต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 เพื่อรองรับการแข่งขันจักรยานประเภทลู่นานาชาติแทร็ค เอเชีย คัพ 2021 เป็นการนำร่อง”
A04
 พลเอกเดชา กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการแคมป์เทรนนิ่งของศูนย์ฝึกจักรยานทั่วประเทศดังกล่าว ในอนาคตกรณีที่อยู่ในห้วงเวลาเดียวกันกับการเก็บตัวฝึกซ้อมนักปั่นทีมชาติไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในมหกรรมกีฬาไม่ว่าจะเป็นซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ หรือโอลิมปิกเกมส์ ก็อาจจะใช้สถานที่เก็บตัวฝึกซ้อมทีมชาติไทยเป็นสถานที่จัดโครงการแคมป์เทรนนิ่ง เนื่องจากนักปั่นอนาคตของชาติและผู้ฝึกสอนจากศูนย์ฝึกฯ จะได้เข้าฝึกซ้อมร่วมกันระหว่างศูนย์ นอกเหนือจากนั้นก็ยังจะเป็นโอกาสดีที่จะได้สัมผัสกับการฝึกซ้อมและการปฏิบัติของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ในระดับทีมชาติ ที่มีความเข้มข้นของการฝึกซ้อมสูงขึ้นไปกว่าการฝึกซ้อมและปฏิบัติในระดับภูมิภาค
A08
 “สำหรับเป้าหมายหลักของโครงการ นอกเหนือจากเรื่องของการสร้างนักกีฬาระดับทีมชาติรุ่นใหม่แล้ว ก็ยังจะสอดรับกับแนวทางการคัดเลือกนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันรายการใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นรายการของสหพันธ์จักรยานนานาชาติ หรือ ยูซีไอ หลายต่อหลายรายการที่ต้องอาศัยคะแนนสะสมเพื่อควอลิฟายเข้าแข่งขันชิงแชมป์โลกประเภทต่าง ๆ รวมไปถึงการคัดเลือกโควต้าโอลิมปิกเกมส์ในแต่ละประเภท ที่ใช้ระบบคะแนนสะสมเป็นหลัก การที่มีนักกีฬาไทยสามารถเข้าร่วมการแข่งขันรายการนานาชาติมากขึ้น ก็จะทำให้โอกาสในการควอลิฟายโอลิมปิกเปิดกว้างมากขึ้น รวมถึงโอกาสในการประสบความสำเร็จการแข่งขันก็จะมีสูงขึ้น” พลเอกเดชา กล่าวเสริมในตอนท้าย.