ประวัติสมาคมฯ

ในปี พ.ศ.2502 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร และได้มีการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาจักรยานขึ้นในครั้งนี้ด้วย แต่การจัดการแข่งขันได้นั้น จำเป็นต้องมีองค์กรเกี่ยวกับกีฬานั้นๆ เป็นผู้ดำเนินจัดการแข่งขัน รวมทั้งองค์การนั้นจะต้องเป็นสมาชิกของสหพันธ์จักรยานแห่งนานาชาติ (UCI = Union Cycliste Internationale) จึงจำเป็นต้องก่อตั้งเพื่อดำเนินการจัดการแข่งขัน นอกจากจักรยานแล้ว ยังมีกีฬาวอลเลย์บอล กีฬาว่ายน้ำ ที่ไม่มีองค์กรที่จะรองรับ ด้วยเหตุผลนี้จึงมีบุคคล 3 คน ที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งพร้อมกันทั้ง 3 ชนิดกีฬา

  • นายเฉลิม บุญยะสุนทร
    หัวหน้าแผนกกีฬาประชาชนกรมพลศึกษาดูแลกีฬาวอลเลย์บอล
  • น.อ.ลัทธิ ติมิศานนท์
    กรมสวัสดิการทหารเรือ ดูแลกีฬาว่ายน้ำ
  • นายเสรี ไตรรัตน์
    จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดูแลกีฬาจักรยาน

รายนามคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ

หลังจากที่ผู้ดำเนินการก่อตั้งสมาคมได้ร่างข้อบังคับของสมาคมแล้ว ก็ได้รวบรวมแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ชุดแรก ซึ่งได้แก่

  • พลตำรวจโท ต่อศักดิ์ ยมนาค นายกสมาคม
  • นายวิลาศ บุญนาค อุปนายกสมาคม
  • นายประวัติ สุขุม กรรมการสมาคม
  • นายโตสิต สีบุญเรือง กรรมการสมาคม
  • นายไฉน สัมพันธารักษ์ กรรมการสมาคม
  • นายอาณัติ บุญนาค กรรมการสมาคม
  • นายไพศาล นันทาวิวัฒน์ กรรมการสมาคม
  • นายเฉลิม บุญสุนทร กรรมการสมาคม
  • นาวาเอก ลัทธิ ตมิศานนท์ กรรมการสมาคม
  • นายเสรี ไตรรัตน์ กรรมการสมาคม

หลังจากนั้น พลตำรวจโท ต่อศักดิ์ ยมนาค นายกสมาคมฯ ได้ทำหนังสือทูลราชเลขาธิการ ได้โปรดนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระมหากรุณาธิคุณจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสมาคมจักรยานสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2505 และได้รับหนังสือจากสำนักเลขาธิการ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2506 ความว่า ทรงรับสมาคมจักรยานฯ อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมการบริหารสมาคมจักรยานฯ มีมติ ให้ถือว่า วันที่ 20 กุมภาพันธ์ เป็นวันก่อตั้งสมาคมจักรยานฯ และนับตั้งแต่ พ.ศ.2502 จนถึงปัจจุบัน ได้มีนายกสมาคมเข้ามาบริหารรวมทั้งสิ้น 6 ท่านด้วยกันคือ

ผลงานในอดีตที่เด่นชัดในช่วงก่อตั้งสมาคมกีฬาจักรยานฯ คือการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 4 ณ ประเทศอินโดนีเซีย การแข่งขันจักรยานชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 1 ณ ประเทศมาเลเซีย ไปจนถึงเข้าร่วมการแข่งขันจักรยานในโอลิมปิกเกมส์ฤดูร้อน ครั้งที่ 18 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และโอลิมปิกเกมส์ฤดูร้อน ครั้งที่ 20 ณ นครมิวนิค เยอรมนีตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ณ กรุงเทพมหานคร กีฬาจักรยานไทยสร้างผลงาน 4 เหรียญทอง จากปรีดา จุลละมณฑล นักปั่นประวัติศาสตร์ของกีฬาจักรยานไทย