“สองล้อ” เปิดโผกรรมการบริหารชุดใหม่ ล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมากด้วยประสบการณ์จากทุกวงการ

 สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ เปิดโผคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ อย่างเป็นทางการ โดยมีวาระบริหารงาน 4 ปี (พ.ศ.2567-2571) ล้วนแต่เป็นบุคคคลที่มีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการ ทั้งนักธุรกิจ ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการกีฬา ข้าราชการระดับสูง ทหาร ตำรวจ และมีสุภาพสตรีร่วมเป็นคณะกรรมการ…

“สองล้อ” เปิดโผกรรมการบริหารชุดใหม่ ล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมากด้วยประสบการณ์จากทุกวงการ

“สองล้อ” เปิดโผกรรมการบริหารชุดใหม่ ล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมากด้วยประสบการณ์จากทุกวงการ

 สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ เปิดโผคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ อย่างเป็นทางการ โดยมีวาระบริหารงาน 4 ปี (พ.ศ.2567-2571) ล้วนแต่เป็นบุคคคลที่มีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการ ทั้งนักธุรกิจ ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการกีฬา ข้าราชการระดับสูง ทหาร ตำรวจ และมีสุภาพสตรีร่วมเป็นคณะกรรมการ ตามกฏของ “ยูซีไอ” สำหรับคณะที่ปรึกษานำโดย นายอภัย จันทนจุลกะ อดีต รมว.แรงงาน เป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ด้าน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย รับเป็นประธานที่ปรึกษา ด้าน ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีต รมช.คมนาคม และอดีต รมช.คลัง เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายสิทธิประโยชน์และหารายได้ ขณะที่ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ อดีต รมช.สาธารณสุข เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายจริยธรรม ส่วน “เสธ.โต” พลเรือเอกสุรวุฒิ มหารมณ์ ผู้คร่ำหวอดในวงการกีฬาไทย เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค และนายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความฯ เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย 
S03
 การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ให้การรับรองการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ ขึ้นใหม่ทั้งชุด เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมฯ ในการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 ที่โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอรีน พระราม 9 ซึ่งสโมสรสมาชิกที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงจำนวน 46 สโมสร จากที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 48 สโมสร ต่างให้ความไว้วางใจ เทคะแนนเสียงให้ พลเอกเดชา เหมกระศรี ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจักรยานฯ อย่างเป็นเอกฉันท์ อีก 1 สมัย และนับเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีวาระการบริหารงานอีก 4 ปี (พ.ศ.2567-2571) 
 สำหรับคณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาจักรยานฯ ชุดใหม่ เป็นบุคคคลที่มีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการ ทั้งนักธุรกิจ ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการกีฬา ข้าราชการระดับสูง ทหาร ตำรวจ และมีสุภาพสตรีร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารด้วย ตามกฎของสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มากด้วยประสบการณ์ และเป็นที่ยอมรับในสังคม โดยคณะกรรมการสมาคมฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวน 17 ท่าน มีรายนามดังต่อไปนี้
S04
 พลเอกเดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานฯ, นายเอกชัย เศวตสมภพ อุปนายก คนที่ 1, นายประธาน ไชยประสิทธิ์ อุปนายก คนที่ 2, พลเอก วีระกูล ทองมา อุปนายก คนที่ 3, พลเอก นภนต์ สร้างสมวงษ์ อุปนายก คนที่ 4, นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง อุปนายก คนที่ 5, พลศักดิ์ ศรีเพ็ญ อุปนายกและนายทะเบียน, นายเอกลาภ ทองบริสุทธิ์ อุปนายกและฝ่ายแพทย์, พลตรีภูษิต เฟื่องฟู อุปนายกและฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา, นางมยุรี ฐานานุศักดิ์ เป็นอุปนายกและฝ่ายสวัสดิการ, นายรัฐการ จูตะเสน อุปนายกและฝ่ายสนับสนุน, นายธงชัย พรเศรษฐ์ อุปนายกและฝ่ายกฎหมาย, นายประเทศ บุญยงค์ อุปนายกและฝ่ายเทคนิค, นางยอดขวัญ รัศมี อุปนายกและฝ่ายเยาวชนและสตรี, นางสาวมณีรัตน์ รุ่งเรืองศักดิ์ อุปนายกและฝ่ายต่างประเทศ โดยมี นาวาเอกฐิตพร น้อยรักษ์ เลขาธิการและเหรัญญิก, นายเอกพงศ์ โพธิ์อ่อง รองเลขาธิการและฝ่ายประชาสัมพันธ์
S02
 ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ สามารถแต่งตั้งได้จำนวน 19 คน แต่จากการที่รัฐบาลได้มีโครงการ 1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ ซึ่งสมาคมกีฬาจักรยานฯ ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT และบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ดังนั้นคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ อีก 2 ตำแหน่งจะมาจาก 2 หน่วยงานดังกล่าว โดยจะได้มีการเสนอให้การกีฬาแห่งประเทศไทย มีคำสั่งแต่งตั้งในภายหลัง
 พร้อมกันนี้ “เสธ.หมึก” พลเอกเดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ได้แต่งตั้งที่ปรึกษา, ฝ่ายเทคนิค และฝ่ายผู้ตัดสิน ออกมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นบุคคคลที่มีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการ ทั้งนักธุรกิจ ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการกีฬาจักรยาน ข้าราชการระดับสูง ทหาร ตำรวจ และมีสุภาพสตรีร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารด้วย ตามกฎของสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (ยูซีไอ) ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มากด้วยประสบการณ์ และเป็นที่ยอมรับในสังคม
 สำหรับคณะที่ปรึกษา นำโดย นายอภัย จันทนจุลกะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ส่วนรองที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ อาทิ พลเอกเพิ่มศักดิ์ พวงสาโรจน์ อดีตหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด, นายกมล โชคไพบูลย์กิจ ประธานใหญ่บริษัทในเครือ “เอฟบีที”, นายวิชิต ว่องวัฒนาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ขณะที่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย รับเป็นประธานที่ปรึกษา ทางด้าน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตรัฐมนนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายสิทธิประโยชน์และหารายได้
 นอกจากนี้ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับเป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายจริยธรรม, “เสธ.โต” พลเรือเอกสุรวุฒิ มหารมณ์ ผู้คร่ำหวอดในวงการกีฬาไทย เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค และมีนายไชยรัตน์ อุดมกิจปัญญา อดีตประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งอาเซียน เป็นรองประธานที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค, พลตรีหญิง รศ. พญ.อภัสนี บุญญาวรกุล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายแพทย์, นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย, ดร.มนตรี ไชยพันธุ์ อดีตรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ โดยมี นายอนุชิต กุลวานิช อดีตบรรณาธิการข่าวกีฬาหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นรองประธานที่ปรึกษาฝ่ายวิชากร, พลตำรวจโทจิรพัฒน์ ภูมิจิตร อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร
 สำหรับรองประธานที่ปรึกษา ประกอบด้วย พลเอกผดุงศักดิ์ กลั่นเสนาะ, พลเอกภพอนันต์ เหลืองภาณุวัฒน์, พลเอกชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์, พลเอกชลทิศ เลาหะคามิน, พลโทกำชัย วงศ์ศรี ส่วนคณะที่ปรึกษา อาทิ นายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส้วนจังหวัดชัยนาท, นายชัยพร ปิยสุรประทีป กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาราโค้ทติ้ง จำกัด, นายธริษตรี จุลกทัพพะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปอร์ต ไบซิเคิล จำกัด, นายเกริก วงศาริยวานิช กรรมการบริหาร บริษัท ดีสโตน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมี นายณัฐพงศ์ โลหิตนาวี เป็นประธานฝ่ายเทคนิค และ พ.อ.อ.วิสุทธิ์ กสิยะพัท เป็นรองประธานฝ่ายเทคนิค, นาวาอากาศตรีสุภัทร ศรีไสว เป็นประธานฝ่ายผู้ตัดสิน และนายขัตติยะ ศรีโสดา เป็นรองประธานฝ่ายผู้ตัดสิน 
 ด้านคณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาจักรยานฯ ก็เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถจากหลากหลายวงการเช่นกัน โดยเฉพาะตำแหน่งอุปนายกสมาคมฯ อาทิ นายเอกชัย เศวตสมภพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสมาคมกีฬาจักรยานฯ และให้การสนับสนุนสมาคมฯ ด้วยดีมาโดยตลอด ดูแลนักกีฬาจักรยาน ทั้งทีมชาติไทย และทีมอาชีพไปตระเวนแข่งขันในต่างประเทศ จนประสบความสำเร็จมากมาย พร้อมด้วย นายประธาน ไชยประสิทธิ์ ทายาทจากกลุ่มบริษัท โอสถสภา และเป็นน้องชายของ นายธนา ไชยประสิทธิ์ หัวหน้าคณะนักกีฬาไทย, พลเอกนภนต์ สร้างสมวงษ์ อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม, นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง อดีตประธานคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
 รวมทั้ง พลตรีพลศักดิ์ ศรีเพ็ญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งสริมการท่องเที่ยวและกีฬากองทัพบก เป็นอุปนายกและนายทะเบียน, นายเอกลาภ ทองบริสุทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลซานเปาโล หัวหิน เป็นอุปนายกและฝ่ายแพทย์, พลตรีภูษิต เฟื่องฟู คณะอนุกรรมาธิการกีฬาสู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติรวมทั้งกีฬาคนพิการ วุฒิสภา เป็นอุปนายกและฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา, นายรัฐการ จูตะเสน กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย เป็นอุปนายกและฝ่ายสนับสนุน, นายธงชัย พรเศรษฐ์ รองนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เป็นอุปนายกและฝ่ายกฎหมาย นอกจากนั้น พลเอกเดชา ยังได้แต่งตั้งสุภาพสตรีเข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหารตามกฎของ “ยูซีไอ” ได้แก่ นางมยุรี ฐานานุศักดิ์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท อีซูซุตังปักอุบล เป็นอุปนายกและฝ่ายสวัสดิการ, นางยอดขวัญ รัศมี จากทีมบีเอ็มเอ็กซ์ อบจ.&อีซูซุ สุพรรณบุรี เป็นอุปนายกและฝ่ายเยาวชนและสตรี, นางสาวมณีรัตน์ รุ่งเรืองศักดิ์ เป็นอุปนายกและฝ่ายต่างประเทศ โดยมี นาวาเอกฐิตพร น้อยรักษ์ เป็นเลขาธิการและเหรัญญิก
 พลเอกเดชา เปิดเผยว่า สำหรับการบริหารงานในวาระที่ 3 นี้ เป็นเวลา 4 ปี (ระหว่าง พ.ศ.2567-2571) เป้าหมายหลักคือการผลักดันนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทยคว้าโควตาไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่ฝรั่งเศสให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็ประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายได้โควตา “ปารีสเกมส์” จำนวน 5 ที่นั่ง นับว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ก็เตรียมการในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพช่วงปลายปี 2568 ตนเองในฐานะประธานสหพันธ์จักรยานแห่งอาเซียน หรือ เอซีเอฟ ก็จะพิจารณาในเรื่องของรายการชิงเหรียญทองให้ครบทุกประเภท รวมไปถึงการเตรียมทีมนักกีฬาด้วย
 “นอกจากนั้นก็มีแผนยุทธศาสตร์ส่งนักกีฬาไปฝึกซ้อมและแข่งขันในต่างประเทศ หรืออาจส่งนักกีฬาไปฝังตัวอยู่กับสโมสรอาชีพดัง ๆ ของทวีปยุโรป เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ส่วนการพัฒนาบุคลากร สมาคมกีฬาจักรยานฯ สนับสนุนให้ผู้ตัดสินของไทยก้าวไปสู่ระดับอินเตอร์เพิ่มมากขึ้น และการส่งผู้ฝึกสอนออกไปเป็นวิทยากรในระดับนานาชาติ รวมทั้งการจัดอบรมผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และช่างซ่อมจักรยานระดับต่าง ๆ ภายในประเทศ สิ่งเหล่านี้คือแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรของสมาคมกีฬาจักรยานฯ ที่วางเอาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาวงการกีฬาจักรยานของไทยให้เจริญก้าวหน้า ดังเจตนารมณ์ในการบริหารงานที่ว่า มุ่งมั่นพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ และต่อยอดไปสู่กีฬาอาชีพ เราจะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อชื่อเสียงของประเทศไทย” พลเอกเดชา กล่าวในตอนท้าย.